โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ (multidisciplinary team) ผมได้มีโอกาสร่วมดำเนินการ และร่วมบรรยายงานประชุมของสมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกในพระบรมราชูปถัมภ์ งาน 25th Short course meeting of STST ซึ่งการประชุมในปีนี้ได้ให้ความสำคัญกับโรคมะเร็งปอดมาจริงๆครับ หัวข้อประชุมนอกจากจะลงลึกด้านมะเร็งปอดแล้วยังมีการเพิ่มเนื้อหาพิเศษที่มาในธีมเก๋ๆเข้ากับยุคสมัยเกี่ยวกับเรื่อง Multidisciplinary Team Management in Cardiothoracic Surgery : Time to Explore a New Paradigm) ถึงเวลาเปลี่ยนกรอบความคิดด้วยการรักษาด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ ผมจึงถือโอกาสนี้มาเล่าเรื่องราวของทีมผู้เชี่ยวชาญของเรากันครับ ว่าที่ศิริราชเรามีทีมที่สุดยอดจริงๆ
สมัยก่อนมะเร็งปอดเป็นโรคที่รักษายาก คนไข้มักจะมาด้วยระยะท้ายๆ หรือถึงเจอเร็วแต่ก็มักจะกลับเป็นซ้ำได้บ่อย หรือเข้าสู่ระยะแพร่กระจายได้ง่าย จนกล่าวได้ว่า ใครเป็นมะเร็งปอด เตรียมตัวเตรียมใจไว้ได้เลย
แต่โลกก็หมุนไปเรื่อยๆ ความรู้ต่างๆก้าวหน้ามากขึ้น เทคโนโลยีต่างๆก็พัฒนาขึ้น จนสามารถจัดการกับโรคมะเร็งปอดได้ดีขึ้น มีเทคโนโลยีการตรวจพบได้เร็วขึ้น การผ่าตัดที่ได้ผลดีขึ้นเรื่อยๆ ยาต่างๆก็ดีมากขึ้นจนถึงระดับสูงมากๆ ยังมีการรักษาแบบอื่นอีกเช่นการใช้รังสีช่วยกำจัดมะเร็งหรือการใช้คลื่นความร้อนหรือความเย็นเข้าไปกำจัดมะเร็งก้อนเล็กๆ เป็นต้น สมัยก่อนในช่วงแรกที่ยังขาดการประสบการณ์ร่วมกันในการรักษาอย่างเป็นทีม คนไข้มาเจอใครก็ได้รับการรักษาไปตามความเชี่ยวชาญของแพทย์นั้นๆ เช่นมาเจอหมอผ่าตัดก็เน้นผ่าตัดเป็นหลัก โดยอาจนึกถึงการให้ยาในบางระยะน้อยไป เป็นต้น เป็นเหตุให้ถึงแม้ว่าความรู้ในสาขาต่างๆจะมีความก้าวหน้ามากขึ้น แต่ผลการรักษาก็ยังไม่ค่อยดีเท่าที่ควร มีการรายงานผลการรักษาและอัตราการรอดชีวิตที่ยังไม่ดี จึงยังเป็นโรคที่รักษายากอยู่ เป็นกลุ่มโรคที่ทั้งคนไข้ทั้งหมอไม่ค่อยอยากเจอกันนัก
…ในเวลาต่อมาเมื่อเริ่มมีการประสานความรู้สาขาต่างๆเข้าด้วยกัน จึงพบว่ามันมีช่องทางการรักษาร่วมกันได้นี่!!! เช่นบางกลุ่มที่ระยะสูงๆหน่อย พอผ่าตัดแล้วลองให้ยาเคมีบำบัดต่อดู ปรากฏว่า ยืดระยะเวลามีชีวิตของคนไข้ไปได้ ลดการเกิดซ้ำได้นี่!!! เลยเริ่มเป็นที่มาของการรักษาร่วมกันหลายๆสาขา ทำให้เริ่มมีการส่งต่อการรักษากันระหว่างสาขาวิชามากขึ้น และผลการรักษาก็ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์แบบ เพราะบางครั้งการตัดสินใจการรักษาของแพทย์แต่ละท่านก็อาจยังมีบางส่วนที่ไม่ตรงกันได้บ้าง โดยเฉพาะมะเร็งปอดที่ยากๆ หรือหลายๆตำแหน่ง หรือความรู้ต่างๆของแพทย์แต่ละสาขาที่ลงลึกมากๆ จนแพทย์สาขาอื่นๆอาจตามไม่ทันหรือไม่รู้ว่ามีวิธีใหม่ๆด้วย
…ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของการเริ่มมีการปรึกษาการรักษาร่วมกันเป็นทีมของสหสาขาวิชาชีพ หรือที่เราเรียกว่า MDT หรือ multidisciplinary team นั่นเอง ซึ่งมะเร็งปอดเป็นหนึ่งในโรคที่ปรากฏผลการรักษาในทางที่ดีมากๆ จากการมี MDT team ครับ
ทำให้เราสามารถมองภาพรวมของการรักษาได้อย่างดีขึ้นผ่านมุมมองของผู้เชี่ยวชาญต่างสาขาวิชากัน และตัดสินใจแนวทางการรักษาร่วมกัน ส่งผลให้คนไข้แต่ละคนได้รับการรักษาที่ดีที่สุดจากทั้งทีม
พูดอารัมภบทกันมานาน ทีนี้ผมจะมาอธิบายโดยละเอียดว่า แล้วตอนนี้ทีมมะเร็งปอดเรามีผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่อะไรกันบ้าง
⭐️⭐️เริ่มด้วยการคัดกรองกับการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นก่อนครับ
เรามีหมอปอด หรืออายุรแพทย์โรคทางเดินหายใจ(pulmonologist) ครับ เป็นด่านหน้าเลย
⭐️⭐️เรามีหมอรังสีวินิจฉัยที่ตรวจละเอียดผ่านภาพถ่ายรังสีคอยพิจารณาว่ามีโอกาสเป็นมะเร็งหรือไม่ มีการแพร่กระจายหรือไม่
⭐️⭐️เรามีหมอรังสีนิวเคลียร์สำหรับการตรวจภาพรังสีขั้นสูงในรายที่ต้องการตรวจการแพร่กระจายอย่างละเอียดผ่าน PET/CT
⭐️⭐️หมอผ่าตัดหัวใจและปอด โดยเฉพาะที่เชี่ยวชาญสนใจลงลึกเรื่องการผ่าตัดปอด Thoracic Surgery (ปัจจุบันประเทศไทย หมอผ่าตัดปอดและหัวใจ จะเป็นผู้ผ่าตัดปอด ยังไม่ได้แยกกันเหมือนหลายๆประเทศ ที่หมอผ่าหัวใจก็ผ่าแต่หัวใจ หมอผ่าปอดก็ลงลึกเรื่องปอดและมะเร็งโดยเฉพาะ) หมอผ่าตัดปอดจะพิจารณาการผ่าตัดด้วยวิธีต่างๆ ทั้งส่องกล้องแผลเล็ก ใช้หุ่นยนต์ หรือผ่าตัดเปิดแผลใหญ่ และพิจารณาว่าตัดแค่ไหน ตัดน้อยตัดมาก หรือตัดไม่ได้ มีงานวิจัยและข้อบ่งชี้ใน Guide line ต่างๆ ว่า ควรให้หมอผ่าตัดที่สนใจลงลึกเรื่องการผ่าตัดปอดโดยเฉพาะจะช่วยให้ผลการรักษาดีมากขึ้น
⭐️⭐️หมอมะเร็ง หรือหมอเคมีบำบัด Oncologist มีบทบาทสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นผู้ตัดสินใจเรื่องการให้ยาต่างๆที่เหมาะสมตามผลตรวจของคนไข้แต่ละราย ซึ่งปัจจุบันมีวิทยาการลงลึกไปจนถึงระดับยีนส์ มีทั้งการให้ยาเคมีบำบัดที่เหมาะสม ยามุ่งเป้า หรือยากลุ่มภูมิคุ้มกันบำบัด ซึ่งเป็นเรื่องใหม่มาก ที่มีผลการรักษาที่ดีมากเช่นกัน รวมถึงยังเป็นผู้ติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องจนหายขาดหรือครบวาระ
⭐️⭐️หมอพยาธิวิทยา Pathologist และพยาธิวิทยาคลินิค Clinical pathologist มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการวินิจฉัย โดยเป็นผู้ตรวจละเอียดในชิ้นเนื้อต่างๆ ให้การวินิจฉัย และระบุระยะการแพร่กระจายจากชื้นเนื้อ รวมถึงตรวจละเอียดเรื่องการมียีนส์กลายพันธุ์ หรือเป้าสำหรับการรักษาต่อเนื่องด้วย
⭐️⭐️หมอรังสีรักษา Radio Therapist มีบทบาทมากในรายที่ผ่าตัดไม่ไหว จะมีทางเลือกในการกำจัดมะเร็งด้วยวิธีต่างๆนอกเหนือจากการผ่าตัด เช่นการฉายแสงแม่นยำเฉพาะจุด SBRT การใช้เทคโนโลยีฉายแสงใหม่ๆที่มีแขนหุ่นยนต์ช่วย เช่น Cyber knife
⭐️⭐️หมอรังสีร่วมรักษา Radio Interventionist มีบทบาทมากในรายที่ผ่าตัดไม่ไหวเช่นกัน แต่จะใช้วิธีการใช้รังสีนำทางและใช้อุปกรณ์หัวเข็มนำคลื่นไมโครเวฟ (Micr
⭐️⭐️หมอรังสีร่วมรักษา Radio Interventionist มีบทบาทมากในรายที่ผ่าตัดไม่ไหวเช่นกัน แต่จะใช้วิธีการใช้รังสีนำทางและใช้อุปกรณ์หัวเข็มนำคลื่นไมโครเวฟ (Microwave ablation) หรือเหนี่ยวนำแช่แข็ง (Cryo-ablation) เพื่อกำจัดก้อนมะเร็ง
⭐️⭐️หมอกายภาพบำบัด และเวชศาสตร์ฟื้นฟู มีบทบาทช่วยฟื้นฟูหลังการผ่าตัด หรือดูแลต่อเนื่องในรายที่ต้องการการช่วยฝึกหายใจที่เป็นผลเนื่องจากโรคหรือการผ่าตัด
จะเห็นได้ว่าการรักษาโรคมะเร็งปอดให้ได้ผลการรักษาและประสิทธิภาพการรักษาที่ดีที่สุดต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาจริงๆครับ
ในเวลาที่ผ่านมาผลการรักษามะเร็งปอดของเรามีประสิทธิภาพขึ้นเรื่อยๆตามลำดับ ทั้งความรวดเร็วและผลการรักษา การคัดกรองติดตาม และการฟื้นฟูสมรรรถภาพและคุณภาพชีวิตผู้ป่วย
ภูมิใจแทนทีมคุณภาพที่ได้มีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพการรักษาที่ดีในระดับโลก และดีใจแทนคนไข้จริงๆครับ