หนองในช่องปอด (Empyema thoracis)

ภาวะน้ำและหนองในช่องปอด
(Pleural effusion and empyema thoracis)

ในช่องเยื่อหุ้มปอดจะมีการผลิตของเหลวที่มีผลช่วยหล่อลื่นและประสานการเคลื่อนไหวของปอด และผนังหน้าอก โดยจะมีการดูดกลับของเหลวในอัตราที่สมดุลกัน การขาดความสมดุลของการสร้างและการดูดซึมกลับของของเหลวจะส่งผลให้เกิดการสะสมของของเหลวในบริเวณช่องอก (pleural effusion) ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น ไอ เหนื่อยง่าย หายใจไม่สุด หรือของเหลวที่สะสมเกิดการติดเชื้อจนกลายเป็นหนองในช่องอก(empyema thoracis)

Table of content

กลไกการเกิดของเหลวในช่องปอด

  1. การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติการซึมผ่านของเยื่อหุ้มปอด (pleural membrane permeability)
  2. การลดลงของแรงดึงของเหลวในหลอดเลือด (intravascular oncotic pressure)
  3. การเพิ่มขึ้นของแรงดันสารน้ำในหลอดเลือดฝอย (capillary hydrostatic pressure)
  4. การอุดกั้นของอวัยวะน้ำเหลือง (Lymphatic structure)
  5. ความผิดปกติของตำแหน่งที่ดูดซึมกลับของเหลว

สาเหตุ

สาเหตุหลักที่พบบ่อยที่สุดของการเกิดขอบเหลวในช่องเยื่อหุ้มปอดคือการติดเชื้อในปอด ซึ่งทำให้มีการสร้างสารการอักเสบ(inflammatory cytokines)ขึ้น และชักนำให้เม็ดเลือดขาวชนิดนิว

โตรฟิล(neutrophils)มาสะสม ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงความดันต่างๆของหลอดเลือดฝอยในปอด และการเปลี่ยนแปลงของคุณสมบัติการซึมผ่าน(pleural membrane permeability) ส่งผลให้มีของเหลวสะสมมากขึ้น

หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องในระยะเวลาที่เหมาะสมจะทำให้ความรุนแรงของโรคมากขึ้น กลายเป็นหนองในช่องปอดตามมา(empyema thoracis)

ระยะของโรค

แบ่งตาม ระยะเวลา และลักษณะของเหลวที่พบเป็น 3 ระยะ ดังนี้

1. ระยะที่ 1 หรือ Exudative phase พบในช่วงเวลา 0-2 สัปดาห์นับตั้งแต่เริ่มมีความผิดปกติ ซึ่งเกิดจากการขาดสมดุลของการผลิตและการดูดซึมกลับของของเหลว ของเหลวที่พบจะค่อนข้างใส ไหลเวียนไปได้ทั่วทั้งช่องเยื่อหุ้มปอด อาจพบเส้นใยโปรตีน(fibrin)ปนอยู่โดยของเหลวที่พบมักตรวจไม่พบเชื้อ

 

2. ระยะที่ 2 หรือ Fibrinopurulent phase พบในช่วงเวลา 1-6 สัปดาห์นับตั้งแต่เริ่มมีความผิดปกติ ซึ่งจะมีการกระตุ้นกลไกลการแข็งตัวของเลือด, การลดสลายของเส้นใยโปรตีนไฟบริน ทำให้มีเส้นใยโปรตีนสะสมมากขึ้น ลักษณะของเหลวจะเป็นหนองขุ่นข้นเหนียวหนืด เส้นใยโปรตีนปริมาณมาก ลักษณะเป็นน้ำหนองและเริ่มมีการสร้าง ปลอกแคปซูลรอบๆน้ำที่สะสม เปลือกของ capsule จะไม่หนามาก เยื่อหุ้มปอดทั้งชั้นนอกและชั้นในจะเริ่มหนาตัว เยื่อหุ้มปอดชั้นในจะเริ่มรัดปอดมากขึ้น ทำให้ปอดขยายตัวได้น้อยลงขณะหายใจของเหลวมักตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย

 

3. ระยะที่ 3 หรือ Organizing phase พบในช่วงเวลา 5 สัปดาห์ขึ้นไปนับตั้งแต่เริ่มมีความผิดปกติ จะพบหนองเหนียวข้น ร่วมกับการหนาตัวของเยื่อหุ้มปอดมากขึ้น ระยะนี้ปอดจะถูกกดเบียดมาก และไม่ขยายตามการหายใจ หนองที่นำไปตรวจมักตรวจไม่พบ bacteria

อาการและอาการแสดง

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีไข้นำมาก่อน ตามด้วยอาการแสดงทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เหนื่อยง่าย หายใจแล้วเจ็บแปลบบริเวณทรวงอก หายใจไม่สุด

การตรวจวินิจฉัย

  • การตรวจภาพถ่ายรังสีทรวงอก (chest X-ray)
  • การเจาะดูดหนอง

การรักษา

สาเหตุของโรคส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อในปอด ดังนั้นจึงต้องให้ยาฆ่าเชื้อ

หากพบในระยะที่มีหนองปริมาณมาก การรักษาเฉพาะจะขึ้นกับระยะของโรค

วิธิการรักษา

  1. ระบายน้ำจากช่องทรวงอกออกโดยใช้เข็มเจาะดูดออกเป็นระยะ(Thoracentesis)
  2. ใส่สายระบายช่องทรวงอก (Intercostal Chest Drain :ICD)
ภาพ CT scan แสดงหนองหลายตำแหน่งในช่องอก (ลูกศรแดง)

3. การผ่าตัดเพื่อระบายหนอง ซึ่งจะช่วยลดอัตราการนอนโรงพยาบาลและช่วยให้อาการดีขึ้นได้เร็ว โดยสามารถทำได้ทั้งการผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็ก (VATS) หรือการผ่าตัดชนิดเปิดเข้าช่องอก(open thoracotomy)

ในระยะที่มีของเหลวมากข้นเป็นหนองและมีเศษเนื้อเยื่อไฟบรินปนปริมาณมาก  การระบายของเหลวออกโดยการผ่าตัด(Surgical drainage) จะสามารถนำหนองและเศษเยื่อต่างๆออก และทำความสะอาดช่องทรวงอกร่วมกับทำการลอกเยื่อหุ้มปอดที่ดึงรั้งเนื้อปอดไว้ออก(decortication) จะทำให้ปอดกลับมาขยายออกตามการหายใจได้เป็นปกติ

ในผู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ เนื่องจากมีโรคร่วมที่อันตราย สามารถใช้ยาเข้าไปกำจัดไฟบริน(fibrinolytic agents) ผ่านสายระบายทรวงอก การรักษาได้ผลดีพอสมควร

 

การรักษาโดยการผ่าตัด

  1. 1. ระบายหนองและของเหลวในช่องอก
ภาพแสดงการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อระบายหนอง และลอกเยื่อหุ้มปอดออก ลูกศรฟ้าแสดงเยื่อหุ้มกระเปาะหนองที่ไปกดเบียดปอดทำให้ปอดแฟบ

2. นำเนื้อเยื่อและเยื่อหุ้มปอดที่ติดเชื้อออก

3. ลอกเยื่อหุ้มปอดออกเพื่อให้เนื้อปอดขยาย

ทั้งนี้ในระยะที่ 1, 2 สามารถผ่าตัดชนิด ส่องกล้องแผลเล็กได้ ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพช่วยลดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด และลดระยะเวลาการนอนในโรงพยาบาลด้วย

ในระยะที่ 3 การผ่าตัดแบบเปิดแผลที่หน้าอกจะเหมาะสมกว่า เนื่องจากเป็นเรื้อรังจนพังผืดในช่องอกมักเหนียวและมีปริมาณมากและช่องทรวงอกมักจะไม่มีช่องว่างเพียงพอสำหรับอุปกรณ์

ในระยะนี้หนองจะไปกดเนื้อปอด ดึงรั้งให้ปอดไม่ขยายตัว ผู้ป่วยจะเหนื่อยจากการหายใจไม่เต็มที่ การรักษาที่สำคัญคือการลอกเยื่อหุ้มปอดออก (decortication)ให้มากที่สุด เพื่อให้ปอดสามารถกลับมาขยายได้เต็มที่ เพิ่มพื้นที่ปอดสำหรับการหายใจ

นอกจากการผ่าตัดแล้วผู้ป่วยจะได้รับยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดอย่างเหมาะสมจนอาการดีขึ้น และได้รับการดูแลเรื่องความปวดเพื่อป้องกันภาวะ แทรกซ้อนต่อระบบหายใจ การกายภาพบำบัดฟื้นฟู รวมถึงการออกกำลังปอดและการฝึกการ หายใจ จะสามารถทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้เร็วขึ้น

Reference

  1. ศุภฤกษ์ เจียรผัน. Surgical aspect of pleural and pulmonary disease. ใน: เอกสารประกอบ   การสอนสำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
    มหาวิทยาลัยมหิดล; 2567.
  2. Lo Cicero, J , Feins, RH, Colson, YL, Rocco, G, editors. Parapneumonic effusion, empyema and fibrothorax. Shields’ General Thoracic Surgery. 8th  ed. Philadelphia: Wolters Kluwer,2018;1513–1534.
  3.  Roberts ME, et al. British Thoracic Society Guideline for pleural disease. Thorax 2023;0:1– 34.
  4. British Thoracic Society clinical statement on pleural procedures. Thorax 2023.

 

Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง

Scroll to Top
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.